ประวัติ และความเป็นมา

ประวัติและความเป็นมา

กว่าจะมาเป็น “สหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง จำกัด

สหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 ตามประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2525 จากกรมส่งเสริมสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เลขทะเบียนสหกรณ์ที่กนธ.70/2525 และได้ส่งเริ่มประกอบธุรกิจเดือนแรกเมื่อ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2525 มีคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ในระยะแรกจากตัวแทนคณะ/สำนักต่างๆ ประมาณ 11-13 คน มีรองอธิการบดี รศ.ดร.โกศล เพ็ชรสุวรรณ เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง มีอาจารย์ปรารถ จันทร์ภักดี เป็นผู้จัดการคนแรก มีเจ้าหน้าที่ 3 คน สำนักงานสหกรณ์ ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ปัจจุบันอาคารหลังนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานรองอธิการบดี.

การดำเนินงานสหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง จำกัด แรกๆ ได้เปิดรับสมัครสมาชิกจากอาจารย์ข้าราชการประจำเท่านั้น ส่วนลูกจ้างก็มีเฉพาะลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวจะเป็นสมาชิกไม่ได้ โดยให้ผู้สมัครสมาชิกถือหุ้นคนละไม่น้อยกว่า 50 หุ้น (500 บาท) สหกรณ์ฯได้ขอความอนุเคราะห์จากสถาบันฯ ช่วยหักเงินเดือนของสมาชิกส่งให้กับสหกรณ์ รวมทั้งหนี้สินที่สมาชิกได้ทำธุระกรรมกับสหกรณ์ฯ ด้วย

ส่วนสมาชิก ณ วันที่ขอจดทะเบียนดำเนินการจำนวน 259 คน ทุนดำเนินการ  618,120 บาท และมีรองอธิการบดี ผศ.วิไลวรรณ วอนยอดพันธ์ เป็นเหรัญญิกโดยตำแหน่ง เมื่อดำเนินกิจการมาครบ 1 ปี (วันสิ้นปีบัญชีของสหกรณ์ คือวันที่ 30 กันยายนของทุกปี) มีสมาชิกสหกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน  421  คน  มีกำไรสุทธิ  จำนวนเงิน  46,841  บาท

กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ได้ดำเนินการมามีความก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ  เงินทุน  (หุ้น)  มากขึ้น  สมาชิกสหกรณ์เพิ่มขึ้นเป็น  822  คน  เมื่อดำเนินกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ครบ  10  ปี  มีกำไรสุทธิถึง  3,081,827.71  บาท  มีสมาชิกสหกรณ์เพิ่มขึ้นเมื่อดำเนินกิจการมาครบ  20  ปี  เมื่อ  พ.ศ.2546  จำนวนมากถึง  1,300  คน  มีทุนเรือนหุ้นมากถึง  110,976,950  ล้านบาท  มีกำไรสุทธิ  9,715,525.64  บาท

คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์อาจพิจารณาคัดเลือกบุคคล  ที่มีความซื่อสัตย์  สุจริต  มีความรู้ความสามารถ  และความเหมาะสม  เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการสหกรณ์  โดยหลักการบริหารสหกรณ์หรือสถาบันการเงิน  จะพิจารณาจากบุคลากรมืออาชีพด้านการบริหารการเงิน  ฯลฯ  แต่เนื่องจากสหกรณ์โดยทั่วไปจัดตั้งและสนับสนุนโดยหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน  จึงใช้บุคลากรจากหน่วยงานนั้นๆ  มาทำหน้าที่ผู้จัดการ  ในการจ้างผู้จัดการสหกรณ์จะต้องทำหนังสือจ้างไว้เป็นหลักฐาน  และมีหลักประกันอันสมควร  สหกรณ์ที่มีทุนดำเนินการและจำนวนหุ้นมากๆ  (หลักร้อยล้าน  พันล้าน  หรือหมื่นล้าน)  มักจะใช้บุคลากรมืออาชีพด้านสหกรณ์มาเป็นผู้จัดการ

การคัดเลือกผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์ เมื่อ พ.ศ.2539 มีอาจารย์เข้ารับการคัดเลือก 3 ราย คณะกรรมการดำเนินการได้เลือก ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานพ สุดสงวน สังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่งลงนามโดยประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง จำกัด ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยะพงษ์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2541 แต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์ แทนอาจารย์ปรารภ จันทรภักดี ที่เกษียณอายุราชการ (เนื่องจากปีบัญชีของสหกรณ์หมด วันที่ 30 กันยายน ของทุกปี อาจารย์ปรารภ จันทรภักดี ต้องทำหน้าที่รายงานกิจการของสหกรณ์ประจำปี 2540 ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน) กิจการของสหกรณ์ได้ขยายตัวเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง  มีทุนเรือนหุ้นมากขึ้น  มีสมาชิกมากขึ้น  การให้สมาชิกได้กู้เงินทุกประเภทมากขึ้น  เป็นเงินกู้พิเศษ  (ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน)  เงินกู้สามัญ  เงินกู้ฉุกเฉิน  สหกรณ์ยังเปิดรับฝากเงินประเภทต่างๆ  เช่น  ฝากออมทรัพย์  ฝากประจำ  ฝากพิเศษมีกำหนดระยะเวลา  ซึ่งมีสมาชิกมาใช้บริการมากพอสมควร

พระราชบัญญัติสหกรณ์  พ.ศ.2511  ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม  เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2543  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการระบบสหกรณ์ของประเทศไทย  โดยมีข้อห้ามในส่วนของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ห้ามมิให้ผู้บริหารองค์กร  หรือหน่วยงานดำรงตำแหน่งใดๆในคณะกรรมการดำเนินการนอกเสียจากจะต้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เท่านั้น  ส่วนการเปลี่ยนแปลงข้อห้ามอื่นๆ ที่สำคัญก็คือวาระการเป็นประธานและกรรมการดำเนินการสหกรณ์  มีสาระสำคัญดังนี้

ประธานกรรมการและกรรมการ

–  มีจำนวนไม่เกิน  15  คน  (ประธาน  1  คน  กรรมการอีก  14  คน)
–  กรรมการจำนวนกึ่งหนึ่ง  (จำนวน  7  คน)  ให้หมดวาระลงและทำการเลือกตั้งใหม่แทนจำนวนดังกล่าว  กรรมการเก่าสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้เมื่ออยู่ครบ  1  ปี  ให้กรรมการเก่า  7  คน  พ้นหน้าที่และจัดเลือกตั้งกรรมการแทนจำนวน  7  คน  (กรรมการเก่าสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้)
–  วาระของประธานและกรรมการมีวาระ  2  ปี  และสามารถเป็นกรรมการได้  2  วาระ  ( 4 ปี )  ติดต่อกัน  ถ้าได้รับเลือกตั้ง
หลักการของ  พ.ร.บ.  สหกรณ์  พ.ศ.2543  ต้องการให้มีการหมุนเวียนของกรรมการไม่ยึดติดอยู่กับตำแหน่งเกินกว่า  4  ปี  โดยให้เว้นวรรค  1  วาระ  ( 2 ปี )

รายชื่อประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง

(พ.ศ.2525-2534) รองศาสตราจารย์ ดร.โกศล  เพ็ชรสุวรรณ

(พ.ศ.2535-2540) ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช  ธัชยะพงษ์

(พ.ศ.2541-2545) รองศาสตราจารย์ ประกิจ  ตังติสานนท์

(พ.ศ.2546-2549) อาจารย์วีระศักดิ์  วงศ์วัติ

(พ.ศ.2550-2553) รองศาสตราจารย์ประภาษ  ไพสุวรรณ

(พ.ศ.2554-2555)  อาจารย์วีระศักดิ์  วงศ์วิวัติ

(พ.ศ.2556-2565) ว่าที่ร้อยตรีชัยรักษ์  ดีปัญญา

(พ.ศ.2566-ปัจจุบัน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลสวาท หิรัญสกลวงศ์

รายชื่อผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง
ในช่วงระยะเวลาดำเนินกิจการสหกรณ์กว่า  30  ปี  (พ.ศ.2525-ปัจจุบัน)

(พ.ศ.2525-2539) อาจารย์ปรารภ  จันทรภักดี

(พ.ศ.2540-2546) ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานพ  สุดสงวน

(พ.ศ.2547-ปัจจุบัน) นายธเนศ  ศักดิ์ชัยสมบูรณ์

รายชื่อผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์พระจอมเกล้าลาดกระบัง

การจัดรูปแบบองค์กรของสหกรณ์  ยึดหลักการเดียวกันกับการจัดองค์กรของสหกรณ์ทั่วไป  ซึ่งมีบุคลากรที่มีบทบาทในการดำเนินการสหกรณ์สี่ส่วน  ดังนี้

          1.  ที่ประชุมใหญ่สมาชิก

          2.  คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์

          3.  ฝ่ายจัดการ

          4.  ฝ่ายตรวจสอบ

                     4.1  ผู้ตรวจสอบกิจการ

                     4.2  ผู้ตรวจสอบภายใน